วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 1 คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์




 คอมพิวเตอร์ หมายถึง 
• เครื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล
• สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม
• ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น
ประวัติความเป็นมา
    คอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้เป็นผลมาจากการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือในการคำนวณซึ่งมีวิวัฒนาการนานมาแล้ว เริ่มจากเครื่องมือในการคำนวณเครื่องแรกคือ "ลูกคิด" (Abacus) ที่สร้างขึ้นในประเทศจีน เมื่อประมาณ 2,000-3,000 ปี
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2488-2501
v ใช้อุปกรณ์ หลอดสุญญากาศ (Vacuum Tube) เป็นส่วนประกอบหลัก ทำให้ตัวเครื่องมีขนาดใหญ่ ใช้พลังงานไฟฟ้ามาก และเกิดความร้อนสูง
v ทำงานด้วยภาษาเครื่อง (Machine Language) เท่านั้น
v เริ่มมีการพัฒนาภาษาสัญลักษณ์ (Assembly / Symbolic Language) ขึ้นใช้งาน
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2502-2506
v ใช้ ทรานซอสเตอร์เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์แทนหลอดสุญญากาศ
v ใช้วงแหวนเป็นหน่วยความจำ
v สามารถทำงานได้ทันทีไม่ต้องรอให้หลอดค่อยๆทำงาน
v ใช้กระแสไฟฟ้าน้อยกว่า แม่นยำกว่า
v สั่งงานได้สะดวกมากขึ้น เนื่องจากทำงานด้วยภาษาสัญลักษณ์ (Assembly Language)
v เริ่มพัฒนาภาษาระดับสูง (High Level Language) ขึ้นใช้งานในยุคนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2507-2512
v เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้อุปกรณ์ วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือ ไอซี โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมาย
v ความเร็วในการประมวลผลในหนึ่งคำสั่ง ประมาณหนึ่งในล้านของวินาที (Microsecond : mS) (สูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1 ประมาณ 1,000 เท่า)
v ทำงานได้ด้วยภาษาระดับสูงทั่วไป
v ในยุคนี้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2513-2532
v เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI)
v โดยรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงไปในแผ่นซิลิกอน
v  ชิป 1แผ่นสามารถบรรจุได้มากกว่าล้านวงจร  โดยบรรจุการทำงานพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ ที่เรียกว่า ซีพียูลงไปในชิปตัวเดียวหรือที่เรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5
v  เริ่มจาก พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน
v ไมโครคอมพิวเตอร์มีความสามารถมากขึ้น ทำงานได้รวดเร็ว การแสดงผล การจัดเก็บข้อมูล สามารถประมวลผลได้ทีละมากๆ ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้หลายงานพร้อมๆกัน(Multitasking)
v เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น
v คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI)


ประเภทของคอมพิวเตอร์
ประเภทคอมพิวเตอร์แบ่งตามระดับความสามารถประกอบด้วย
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์
2.เมนเฟรมคอมพิวเตอร์
3.มินิคอมพิวเตอร์
4.เวิร์กสเตชั่น
5.ไมโครคอมพิวเตอร์
1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)
• มีความสามารถสูงสุด มีขนาดใหญ่ ทำงานรวดเร็วที่สุดในโลก
• สามารถประมวลผลข้อมูลในปริณมาณมาก
• สามารถประมวลผลงานที่มีรูปแบบซับซ้อน มีความเร็วในการคำนวณได้มากกว่า หนึ่งล้านล้านคำสั่งต่อวินาที
• หน่วยวัดความเร็วของซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ เรียกว่า กิกะฟลอป (Gigaflop)
• ใช้ในงานพยากรณ์อากาศ งานทางวิศวกรรม งานด้านวิทยาศาตร์ งานการวิจัยนิวเคลียร์
2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainfram Computer)
• ความสามารถรองจากซูปเปอร์คอมพิวเตอร์
• ใช้งานกับธุรกิจขนาดใหญ่ เช่น บริษัทประกันภัย ธุรกิจธนาคาร งานด้านสายการบิน ระบบจองตั๋วเครื่องบิน  การจัดเก็บภาษี
ข้อเด่น ของการใช้เมนเฟรมอยู่ที่งานที่ต้องการให้มีระบบศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานไปเป็นจำนวนมาก
ตัวอย่าง  บริษัท IBM มีแอปพลิเคชั่นทำงานมากกว่า 1000 โปรแกรม เมนเฟรมจะนำไปใช้งานเป็นเครื่องศูนย์กลาง และกระจายการใช้งานให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่น
3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับองค์กรขนาดกลาง และขนาดเล็กเหมาะสำหรับธุรกิจขนาดเล็กไปถึงขนาดกลาง
• ความสามารถอยู่ระหว่างเมนเฟรมคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานได้พร้อม ๆ กันหลายคน จึงมีเครื่องปลายทางที่เชื่อมต่อกัน
• นำมาใช้สำหรับประมวลผลในงานสารสนเทศขององค์การขนาดกลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ที่มีการวางระบบเป็นเครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกัน
4. เวิร์กสเตชั่น (Workstation)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ความสามารถอยู่ระหว่างความสามารถของมินิคอมพิวเตอร์และไมโครคอมพิวเตอร์
• มีความเร็ว ประสิทธิภาพ และราคาสูงกว่าเครื่องคอมพิวเตอร์ PC โดยทั่วไป
• มีจุดเด่นสำหรับงานกราฟฟิก สร้างรูปภาพ และภาพเคลื่อนไหว
• สามารถใช้เพื่อเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายได้
• สำหรับงานออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ งานควบคุมเครื่องจักร งานจำลองและคำนวณทางวิทยาศาสตร์ ฯ
5. ไมโครคอมพิวเตอร์(Microcomputer)
• เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC)
• พีซีทั่วไปจะมีระบบปฎิบัติการ พร้อมโปรแกรมใช้งานทางด้านเอกสาร ท่องเว็บ อีเมล ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น
• เราสามารถแบ่งคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ได้ดังนี้
  - คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ราคาถูกสามารถเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer หรือ PC)
  - โน๊ตบุ๊คคอมพิวเตอร์ (Notebook Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก มี น้ำหนักเบาประมาณ 2-4 กิโลกรัม และบางกว่าแบบตั้งโต๊ะ สามารถพกพาไปยังสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวก
  - เน็ตบุ๊คคอมพวเตอร์ (Netbook)
  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่าเครื่องพีซีและโน๊ตบุค โดยออกแบบให้สามารถนำติดตัวไปใช้งานตามที่ต่างๆได้ดี เพราะมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา
- แท็บเล็ตคอมพิวเตอร์(Tablet Computer)
• เป็นคอมพิวเตอร์ที่สามารถใช้งานในขณะเคลื่อนที่ได้
• รวมการทำงานทุกอย่างไว้ที่จอสัมผัสโดยใช้ปากกา หรือปลายนิ้ว เป็นอุปกรณ์อินพุตพื้นฐาน เทนการใช้คีย์บอร์ดและเมาส์
การนำคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้กับงานด้านต่างๆ
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านสถานีอวกาศ
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านธุรกิจทั่วไป
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านการศึกษาและการวิจัย
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านออกแบบทางวิศวกรรม
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านอุตสาหกรรมและหุ่นยนต์
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านเก็บประวัติอาชญากรรม
• คอมพิวเตอร์กับงานด้านบันเทิง

http://nstrucom01.blogspot.com/

บทที่ 2 ระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในปัจจุบัน








ระบบปฏิบัติการ (operating system) หรือ โอเอส (OS)
เป็นซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป บางครั้งเราอาจะเห็นระบบปฏิบัติการเป็นเฟิร์มแวร์ก็ได้ ระบบปฏิบัติการมีหน้าที่หลัก ๆ คือ การจัดสรรทรัพยากรในเครื่องคอมพิวเตอร์ เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากฮาร์ดดิสก์ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้รันซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวพร้อมๆ กันระบบปฏิบัติการ ช่วยให้ตัวซอฟต์แวร์ประยุกต์ ไม่ต้องจัดการเรื่องเหล่านั้นด้วยตนเอง เพียงแค่เรียกใช้บริการจากระบบปฏิบัติการก็พอ ทำให้พัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์ได้ง่ายขึ้น
ระบบปฏิบัติกาNOSคืออะไร  หรือ OS (Operating System) ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการเข้าใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของโปรแกรมที่รันบนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น         ทรัพยากรของคอมพิวเตอร์มี
หลายชนิด   เช่น  หน่วยความจำ, ฮาร์ดดิสก์, จอภาพ, คีย์บอร์ด และเมาส์ เป็นต้น ถ้าไม่มีระบบปฏิบัติการ คอมพิวเตอร์คงจะรันโปรแกรมมากกว่าหนึ่งโปรแกรมไม่ได้ เพราะแต่ละโปรแกรมอาจแย่งใช้ทรัพยากรดังกล่าว  จนอาจทำให้ระบบล่มได้ ระบบเครือข่าย  เช่น  เครื่องพิมพ์  ฮาร์ดดิสก์  เป็นต้น  คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่าย  จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการทั้งสองประเภท  เพื่อที่จะทำหน้าที่ทั้งจัดการทรัพยากรภายในคอมพิวเตอร์และในระบบเครือข่าย  แต่โดยส่วนใหญ่ระบบ ปฏิบัติการทั้งสองประเภทจะอยู่ในตัวเดียวกัน   เมื่อติดตั้งระบบปฏิบัติการเสร็จแล้วก็เพียงติดตั้งส่วนที่เป็นเครือข่ายเท่านั้น
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายอาจเป็นชุดซอฟต์แวร์ที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม   หรืออาจจะเป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ  ไป   ขึ้นอยู่กับบริษัทที่ผลิต  ตัวอย่างเช่น   เน็ตแวร์ (NetWare)  ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ของบริษัทโนเวล   เป็นระบบปฏิบัติการที่ต้องติดตั้งเพิ่มเติมบนเครื่องที่มีระบบปฏิบัติการอยู่แล้ว ส่วนระบบปฏิบัติการวินโดวส์  NT/2000/2003, วินโดวส์  95/98/Me  และยูนิกซ์มีระบบปฏิบัติการเครือข่ายอยู่ในตัวอยู่แล้ว   โดยไม่ต้องติดตั้งเพิ่มเติม

1. ระบบปฏิบัติการ 
 ระบบปฏิบัติการ หรือที่เรียกย่อๆ ว่า โอเอส (Operating System : OS) เป็นซอฟต์แวร์ใช้ในการดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องมีซอฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการนี้ ระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้กันมากและเป็นที่รู้จักกันดีเช่น ดอส วินโดวส์ ยูนิกซ์ ลีนุกซ์ และแมคอินทอช เป็นต้น 

1) ดอส (Disk Operating System : DOS) เป็นซอฟต์แวร์จัดระบบงานที่พัฒนามานานแล้ว การใช้งานจึงใช้คำสั่งเป็นตัวอักษร ดอสเป็นซอฟต์แวร์ที่รู้จักกันดีในหมู่ผู้ใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ในอดีต ปัจจุบันระบบปฏิบัติการดอสนั้นมีการใช้งานน้อยมาก 
2) วินโดวส์ (Windows) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาต่อจากดอส โดยให้ผู้ใช้สามารถสั่งงานได้จากเมาส์มากขึ้นแทนการใช้แผงแป้นอักขระเพียงอย่างเดียวนอกจากนี้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ยังสามารถทำงานหลายงานพร้อมกันได้ โดยงานแต่ละงานจะอยู่ในกรอบช่องหน้าต่างบนจอภาพ การใช้งานเน้นรูปแบบกราฟิก ผู้ใช้งานสามารถใช้เมาส์เลื่อนตัวชี้เพื่อเลือกตำแหน่งที่ปรากฏบนจอภาพ ทำให้ใช้งานคอมพิวเตอร์ได้ง่าย ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จึงได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน 
3) ยูนิกซ์ (Unix) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาตั้งแต่ครั้งใช้กับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์เป็นระบบปฏิบัติการที่เป็นเทคโนโลยีแบบเปิด (open system) ซึ่งเป็นแนวคิดที่ผู้ใช้ไม่ต้องผูกติดกับระบบใดระบบหนึ่งหรือใช้อุปกรณ์ที่มียี่ห้อเดียวกัน ยูนิกซ์ยังถูกออกแบบมาเพื่อตอบสนองการใช้งานในลักษณะที่มีผู้ใช้ได้หลายคนในเวลาเดียวกันที่เรียกว่า ระบบหลายผู้ใช้ (multiusers) และสามารถทำงานได้หลายๆ งานในเวลาเดียวกันในลักษณะที่เรียกว่า ระบบหลายภารกิจ (multitasking) ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์จึงนิยมใช้กับเครื่องที่เชื่อมโยงเป็น เครือข่ายเพื่อใช้งานร่วมกันหลายๆ เครื่องพร้อมกัน

AIX โดยบริษัท IBM
AUX โดยบริษัท Apple
IRIS โดย บริษัท Silicon Graphic
Linux เป็น Freeware
OSF/I โดย บริษัท DEC
SCO UNIX โดย บริษัท SCO
SunOS โดย บริษัท SUN Microsystem
ULTRIX โดย บริษัท DEC
4) ลีนุกซ์ (linux) เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนามาจากระบบยูนิกซ์ เป็นระบบซึ่งมีการแจกจ่ายโปรแกรมต้นฉบับให้นักพัฒนาช่วยกันพัฒนาคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการ ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์เป็นที่นิยมกันมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากมีโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์จำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในกลุ่มของกูส์นิว (GNU) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทแจกฟรี (Free Ware) ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย 
5) แมคอินทอช (macintosh) เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ แมคอินทอช ส่วนมากนำไปใช้งานด้านกราฟิก ออกแบบและจัดแต่งเอกสาร นิยมใช้ในสำนักพิมพ์ต่างๆ  นอกจากระบบปฏิบัติการที่กล่าวมาแล้วยังมีระบบปฏิบัติการอีกมาก เช่นระบบปฏิบัติการที่ใช้ในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกันเป็นระบบ เช่น ระบบปฏิบัติการเน็ตแวร์ นอกจากนี้ยังมีระบบปฏิบัติการที่ใช้งานเฉพาะกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นมาเพื่องานใดงานหนึ่งโดยเฉพาะ ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในสถาบันการศึกษา 
ระบบปฏิบัติการ Windows XP ::::
WindowsXP เป็นระบบปฏิบัติการ ที่เริ่มวางตลาดในปี ค.ศ. 2001 โดยตั้งชื่อ ให้รับกับการเปลี่ยนแปลงล่าสุดว่า Microsoft Windows XP โดยคำว่า XP ย่อมาจาก experience แปลว่ามีประสบการณ์ โดยทางบริษัทผู้สร้าง กล่าวว่าการตั้งชื่อเช่นนี้ มีเหตุผลมาจากที่ต้องการสื่อให้เห็นถึงการ ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ จากการใช้ Windows XP ทุก ๆ ประมาณ 2 ปี บริษัทไมโครซอฟต์ผู้ผลิตโปรแกรมวินโดวส์ จะวางตลาดวินโดวส์รุ่นใหม่ ๆ โดยได้ใส่เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเปลี่ยนแปลง สิ่งที่เป็นข้อด้อยของวินโดวส์รุ่นเก่า เพราะฉะนั้น ผู้ที่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ ๆ Windows XP มีจุดเด่นและความสามารถมากมาย ไม่ว่าจะเป็นระบบใช้งานที่ดูสวยงาม และง่ายกว่าวินโดวส์รุ่นเก่า ๆ มีระบบช่วยเหลือในการปรับแต่งมากมาย เช่นระบบติดตั้งฮาร์ดแวร์ ติดตั้งเครือข่าย และสร้างผู้ใช้ในเครือข่าย การสร้างแฟกซ์ด้วยคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมรุ่นใหม่ แถมมาให้หลายโปรแกรม เช่นโปรแกรมดูหนังฟังเพลง (Windows Media Player 8)และโปรแกรมท่องโลกอินเทอร์เน็ต (Internet Explorer 6) เหมาะสำหรับนักคอมพิวเตอร์มือใหม่ และผู้ใช้งานทั่วไปอย่างยิ่ง
             Windows XP มีให้เลือกใช้สองรุ่นคือ Windows XP Home Edition ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใช้งานตามบ้าน ที่ไม่เชื่อมต่อกับเครือข่าย และอีกรุ่นคือ Windows Xp Professional Edition ซึ่งเหมาะกับผู้ใช้งานในองค์กร ตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ เนื่องจากสามารถเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายได้ดี คนที่ใช้วินโดวส์เวอร์ชั่น XP จะต้องใช้เครื่องที่มีทรัพยากรมาก เช่น ซีพียู เพนเทียม 300 MHz ขึ้นไป แรมไม่ต่ำกว่า 128 MB ฮาร์ดดิสก์เหลือกพื้นที่ว่างมากกว่า 1.5 GB เป็นต้น


            สรุปแล้วในปัจจุบันระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์มีสองค่ายใหญ่ด้วยกัน คือ Unix กับ Windows ค่ายแรกปรกกฏในรูปแบบของ Linux และ MacOS X จริงอยู่ว่ายังมีผู้ใช้ MacOS รุ่นเก่าอยู่มาก แต่Apple ได้ประกาศเป็นทางการแล้วว่าได้เลิกสนับสนุน MacOS 9 แล้ว ในอนาคตผู้ที่ใช้ MacOS 9 ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้ MacOS X อนึ่งที่แบ่งเป็นสองค่ายข้างต้นเป็นการแบ่งตามประเภท แต่ถ้าแบ่งตามยี่ห้อจะมีสาม คือ Linux, MacOS และ Windows

ระบบปฏิบัติการ Microsoft Windows Vista
เป็นโปรแกรมระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ล่าสุดจากไมโครซอฟท์ ที่พัฒนาต่อมาจาก Microsoft Windows XP และ Microsoft Windows Server 2003 ที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาให้มีความล้ำสมัย ทั้งรูปร่างหน้าตา (Interface) และฟังก์ชั่นการใช้งานต่างๆ นอกจากที่ Vista จะมีความพิเศษในเรื่องฟังก์ชั่นต่างๆ แล้ว ไมโครซอฟท์ได้ปรับปรุงเรื่องความปลอดภัยและเน็ตเวิร์คให้สามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ปัจจุบันได้วางจำหน่ายให้กับองค์กรธุรกิจวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 และวางจำหน่ายให้กับผู้ใช้ทั่วไปวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟท์ประกาศใช้ชื่อ Microsoft Windows Vista อย่างเป็นทางการแก่สื่อมวลชนในวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 แทนที่ชื่อรหัส ลองฮอร์น (Longhorn) โดยคำว่า วิสตา ในภาษาอังกฤษ หมายถึงมุมมอง หรือทิวทัศน์

บทที่ 3 การใช้โปรแกรม ประมวลผลคํา


การประมวลผลคำ หรือ ระบบจัดเตรียมเอกสาร (Document Preparation System)
          ความหมายของการประมวลผลคำ (Word Processing) หมายถึง การนำคำหลายๆ คำมาเรียงกันให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนด ดังนั้นโปรแกรมประมวลผลคำใช้สำหรับพิมพ์เอกสารรายงานหรือสร้างตารางแบบต่าง ๆ
จากความหมายข้างต้นจะเห็นได้ว่า การประมวลผลคำ (Word Processing) หมายถึง การพิมพ์เอกสารโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีชื่อว่าเวิร์ดโปรเซสเซอร์ (Word Processer)  ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการสร้างเอกสาร แก้ไข คัดลอก เพิ่มเติม จัดรูปแบบและตกแต่งเอกสาร ตลอดจนสามารถเก็บบันทึกเอกสารไว้ใช้งานในครั้งต่อไปได้

          ประโยชน์ของโปรแกรมประมวลผลคำ ได้แก่
          1. การจัดเก็บเอกสาร หมายถึง การจัดเก็บเอกสารที่พิมพ์ขึ้นด้วยกระดาษนั้น อาจจะสูญหายหรือฉีกขาดได้ง่าย แต่ การจัดเก็บเอกสารในรูปของไฟล์ข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น ข้อมูลต่าง ๆ จะอยู่ครบถ้วนตราบเท่าที่สื่อ ที่ใช้ในการเก็บบันทึกข้อมูล เช่น ดิสก์เก็ต ฮาร์ดดิสก์ แผ่นซีดี ฯลฯ อยู่ในสภาพที่ดีและสมบูรณ์
          2. การค้นหาและการเรียกใช้ข้อมูล หมายถึง โปรแกรมประมวลผลคำจะมีความสามารถในการค้นหาข้อความหรือคำที่เรา ต้องการได้อย่างรวดเร็ว และยังสามารถค้นหาข้อความหรือคำ แล้วแทนที่ด้วยข้อความหรือคำใหม่ ได้โดยอัตโนมัติ ตลอดจนการเรียกใช้แฟ้มข้อมูลก็ทำได้โดยง่ายและสะดวก เพียงแต่ทราบชื่อไฟล์ และตำแหน่งที่จัดเก็บก็สามารถเรียกใช้ไฟล์ได้โดยสะดวกรวดเร็วไม่ยุ่งยากเหมือนกับการค้นหา และเรียกใช้เอกสารธรรมดา ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
          3. การทำสำเนา หมายถึงการทำสำเนาเอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีดจะต้องใช้กระดาษคาร์บอน และสามารถ ทำสำเนาได้เพียงครั้งละ 3-4 แผ่นเท่านั้น ในขณะที่การทำสำเนาด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถทำ ได้อย่างไม่จำกัดและทุกสำเนามีความชัดเจนเท่าเทียมกัน
          4. การเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร หมายถึง การพิมพ์เอกสารด้วยเครื่องพิมพ์ดีด มักจะมีการพิมพ์ผิดอยู่เสมอ ๆ ทำให้เสียเวลา ในการแก้ไขเอกสาร ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยุ่งยาก นอกจากนี้เอกสารที่พิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ดีดก็ไม่ สวยงามเท่าที่ควร และจะปรากฏร่องรอยของการแก้ไขขูดลบ แต่ถ้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการ พิมพ์เอกสาร ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้จะหมดไป ซึ่งช่วยให้ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
          5. การจัดรูปแบบเอกสาร หมายถึง โปรแกรมประมวลผลคำมีความสามารถในการจัดทำรูปแบบเอกสารได้อย่างดีและ มีประสิทธิภาพ เช่น การกั้นระยะหน้าและหลัง การใส่ข้อความหัวกระดาษและท้ายกระดาษ การจัด เอกสารหลายคอลัมน์ การจัดรูปแบบอัตโนมัติ ฯลฯ ช่วยให้เกิดความสะดวกในการทำงานเหนือกว่า การทำงานแบบเอกสารธรรมดา

http://www.macare.net/word/index.php?id=-2

บทที่ 4 การประยุกต์ใช้ โปรแกรมประมวลผลคํา

โปรแกรมประมวลผลคำ (Word Processor)โปรแกรมประมวลผลคำ หรือที่นิยมเรียกกันว่า โปรแกรมเวิร์ด

โพรเซสเซอร์ (Word Processor Program) เป็นโปรแกรมที่ช่วยสร้างเอกสารประเภทต่างๆ ได้อย่างสะดวก และรวดเร็ว อาทิเช่น จดหมาย บันทึกข้อความ ใบปะหน้า โทรสาร แบบฟอร์มต่างๆ เป็นต้น โดยเก็บในสื่อ อิเล็กทรอนิกส์แทนกระดาษ ผู้ใช้สามารถเพิ่มเติม หรือแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บได้ โดยที่ไม่ต้องพิมพ์ ใหม่ทั้งหมด 
ในปัจจุบัน คุณสมบัติทั่วไปของโปรแกรมประมวลผลคำ ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติที่ช่วยให้สามารถใช้งานได้ง่ายกว่าเครื่องพิมพ์ดีดธรรมดา คุณสมบัติพื้นฐานต่างๆ ของโปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ จะประกอบด้วยเครื่องมือช่วยในการพิมพ์ เครื่องมือช่วยในการแก้ไขข้อมูล การควบคุมการ แสดงตัวอักษรและการจัดรูปแบบหน้าเอกสาร การทำจดหมายเวียนและจ่าหน้าซองจดหมาย
เครื่องมือช่วยในการพิมพ์ของโปรแกรมประมวลผลคำนั้น ช่วยให้ผู้ใช้งานพิมพ์ข้อความได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยคุณสมบัติที่เรียกว่า 
การม้วนคำ (Word Wrap) ที่ช่วยแยกข้อความขึ้นบรรทัดใหม่ เมื่อจบคำในแต่ละบรรทัดพอดี ผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความ โดยไม่ต้องกังวลว่า ข้อความจะยาวกว่าเส้นขอบขวาของบรรทัดที่กำหนดไว้ เมื่อพิมพ์ข้อความเสร็จเรียบร้อย ก็สามารถบันทึกเก็บไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ ที่มีชื่อแฟ้มข้อมูลกำกับ โดยไม่จำเป็นต้องพิมพ์ซ้ำใหม่ทั้งหมด 
เครืองมือช่วยในการแก้ไขข้อมูลของโปรแกรมประมวลผลคำ เช่น การพิมพ์เพิ่มเติมที่เรียกว่า 
การแทรก (Insert) โดยโปรแกรมจะทำการร่นคำที่มีอยู่เดิมนั้น ให้เลื่อนไปทางขวามือ เพื่อให้มีช่องว่าสำหรับคำใหม่ หรือ การเขียนทับ (Overwrite) ด้วยการพิมพ์ข้อความใหม่ที่ถูกลงไป ทับแทนคำ หรือข้อความเดิมที่ผิด โดยไม่จำเป็นต้องลบคำเดิมออกก่อน และยังมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา และแทนที่คำ เพื่อช่วยให้สามารถแก้ไขคำต่างๆ ได้เร็วขึ้น ด้วยการไม่ต้องพิมพ์คำที่ผิดเหมือนกันใหม่ทุกครั้ง โปรแกรมก็จะทำการค้นหา และแทนที่ให้อย่างอัตโนมัติ และครบทุกคำ
การควบคุมการแสดงตัวอักษร และการจัดรูปแบบหน้าเอกสารนั้น โปรแกรมประมวลผลคำส่วนใหญ่ จะมีความสามารถในการจัดตัวอักษร และย่อหน้าได้อย่างสวยงาม อีกทั้งกำหนดขนาดและรูปแบบตัวอักษรได้หลายรูปแบบ และยังมีชุดตัวอักษรให้เลือกหลายรูปแบบ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเลือกใช้ได้ตามความพอใจ และตามความเหมาะสมของเอกสาร ส่วนการจัดหน้าเอกสารนั้น โปรแกรมประมวลผลคำสามารถควบคุมการจัดวางหน้าใหม่ โดยอัติโนมัติทุกครั้ง ที่มีการแก้ไขเอกสาร เช่น การกำหนดให้ข้อความในบรรทัด เริ่มที่เส้นขอบซ้ายตรงกัน หรือกำหนดให้ข้อความอยู่ตรงกลางของบรรทัด เป็นต้น
เครื่องมือช่วยในการทำจดหมายเวียน และจ่าหน้าซองจดหมาย เครื่องมือนี้จะช่วยสร้างจดหมายหลักไว้ ๑ ฉบับ พร้อมทั้งกำหนดตำแหน่ง ที่จะต้องเปลี่ยนแปลงข้อมูล และสร้างแฟ้มข้อมูล สำหรับบันทึกชื่อและที่อยู่ของผู้รับไว้ เมื่อสั่งพิมพ์จดหมายเวียนนั้น หรือจ่าหน้าซองจดหมาย โปรแกรมจะนำข้อมูลมาใส่ในตำแหน่งที่กำหนด ไว้ให้อย่างอัตโนมัติจนครบทุกคน 
ในปัจจุบัน โปรแกรมประมวลผลคำมีการพัฒนาไปอย่างมาก คือ มีเครื่องมือต่างๆ ที่ช่วยในการพิมพ์ หรือสร้างเอกสารเป็นพิเศษ เช่น งานสร้างตาราง การจัดแบ่งข้อความเป็นคอลัมน์ การตรวจสอบตัวสะกด การตรวจสอบไวยากรณ์ การแทรกรูปภาพลงในเอกสาร การใช้งานร่วมกับโปรแกรมอื่นๆ และความสามารถในการสร้างเว็บเพจ ดังนั้น โปรแกรมประมวลผลคำ จึงถูกนำมาใช้แทนการใช้เครื่องพิมพ์ดีด และสามารถใช้งานเสมือนโรงพิมพ์ตั้งโต๊ะ
 

คุณสมบัติพิเศษที่ช่วยสร้างเอกสาร
๑. มีแม่แบบของเอกสารให้เลือกใช้ 
โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ จะมีแม่แบบของเอกสารที่ใช้โดยทั่วไป ในสำนักงาน ให้สามารถเลือกใช้ได้ทันที เช่น จดหมายบันทึกข้อความ ใบปะหน้าโทรสาร ประวัติส่วนตัว เป็นต้น จึงทำให้ได้เอกสารที่ถูกต้องตามมาตรฐาน และสร้างเอกสารได้อย่างสะดวก และรวดเร็วยิ่งขึ้น 
๒. การสร้าตาราง 
การใช้โปรแกรมประมวลผลคำในยุคแรกนั้น การสร้างตารางเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก เพราะต้องคำนวณ และกะระยะเอง แต่สำหรับโปรแกรมประมวลผลคำในยุคหลังนี้ จะมีเครื่องมือช่วยให้งานสร้างตารางง่ายขึ้น เพียงแต่กำหนดจำนวนแถว และจำนวนคอลัมน์ที่ต้องการทำเป็นตาราง โปรแกรมก็จะสร้างตารางให้มีขนาดตามที่ระบุได้ทันที นอกจากนี้ ยังสามารถแก้ไขเพิ่มความกว้างของแต่ละคอลัมน์ หรือความสูงของแต่ละแถวได้ อีกทั้งสามารถกำหนดเส้นแบ่งคอลัมน์ และเส้นแบ่งแถวของตาราง
ได้ตามต้องการ เช่น กำหนดให้เป็นเส้นทึบ หรือเส้นคู่ เป็นต้น 
๓. การจัดแบ่งข้อความเป็นหลายคอลัมน์ 


โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ ได้เพิ่มความสามารถในการจัดรูปแบบคอลัมน์ได้ เช่น กำหนดให้แบ่งข้อความทั้งหมดเป็น ๒ คอลัมน์ ๓ คอลัมน์ หรือมากกว่าได้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถจัดแบ่งคอลัมน์ในอีกรูปแบบ คือ การกำหนดให้ข้อความในคอลัมน์ทางซ้าย สัมพันธ์กับข้อความในคอลัมน์ทางขวา ซึ่งเหมาะกับการอธิบายวิธีการทำงาน อธิบายคำสั่งแต่ละคำสั่ง หรืออธิบายความหมายของคำแต่ละคำในคอลัมน์ทางซ้าย โดยใช้ข้อความที่บรรยายในคอลัมน์ทางขวาคุณสมบัตินี้จึงเหมาะสำหรับงานหนังสือพิมพ์หรือวารสาร โดยทั่วไปที่จัดเรียงข้อความเป็นคอลัมน์ 
๔. การทำงานแบบ WYSIWYG 
การทำงานแบบ WYSIWYG (ย่อมาจาก What You See is What You Get) คือ การทำงานที่เราสามารถเห็นสิ่งที่ปรากฏบนหน้าจอได้ เหมือนกับผลที่ได้จากการพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ เช่น ตัวอักษรที่เน้นให้เป็นตัวหนา ตัวเอียง หรือตัวที่ขีดเส้นใต้ จะแสดงผลให้เห็นทางหน้าจอ ดังนั้น สิ่งที่เรากำหนดไว้จะแสดงให้เห็นจริงบนหน้าจอโดยตรง และไม่จำเป็นต้องพิมพ์ออกมาทดลองดูก่อน คุณสมบัตินี้ช่วยให้เราสามารถจัดการกับหน้าเอกสารตามความต้องการได้ทันที่ 
๕. การตรวจสอบการสะกดคำ 
ความสามารถในการตรวจสอบการสะกดคำนี้ คือ การตรวจสอบคำที่สะกดผิด และคำที่ใช้ผิดหลักไวยากรณ์ โดยจะทำการเปรียบเทียบคำที่พิมพ์กับคำในพจนานุกรมที่ติดตั้งมากับตัวโปรแกรม ซึ่งสามารถตรวจสอบการสะกดคำได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยคำหรือข้อความที่ตรวจพบว่าผิด จะถูกเน้นให้ผู้ใช้มองเห็นได้อย่างชัดเจน เช่นเน้นด้วยเส้นหยัดฟันปลาใต้คำที่สะกดผิด หรือบางโปรแกรมจะแสดงคำใกล้เคียงที่คิดว่าถูกต้องขึ้นมา เพื่อให้ผู้ใช้เลือกใช้แทนคำที่ผิดได้ทันที นอกจากการช่วยตรวจหาคำผิดแล้ว บางโปรแกรมจะช่วยแสดงคำที่สะกดใกล้เคียงกับคำที่กำลังพิมพ์ขึ้นมา ผู้ใช้สามารถจะเลือกใช้ได้เลย โดยไม้ต้องพิมพ์คำนั้นต่อจนครบทุกตัวอักษร เช่น ขณะพิมพ์คำว่า 
"อาทิ" โปรแกรมจะแสดงคำว่า "อาทิตย์" ขึ้นมา ถ้าเราต้องการพิมพ์คำว่า "อาทิตย์" ก็เลือกใช้ได้เลย โปรแกรมจะพิมพ์คำนั้นให้ทันที 
การตรวจสอบให้อย่างอัตโนมัติเช่นนี้ช่วยให้งานสร้างเอกสารทำได้รวดเร็วขึ้น โดยไม่ต้องกลับมาตรวจหาคำผิด ภายหลังการพิมพ์เสร็จแล้ว และทำให้ได้เอกสารที่ถูกต้องทันที 
๖. การแทรกข้อความสัญลักษณ์พิเศษ 
โปรแกรมประมวลผลคำบางโปรแกร มช่วยให้เราสร้างเอกสารได้เร็วขึ้น โดยการใส่รายละเอียดทั่วไป ลงในเอกสารให้อย่างอัตโนมัติ เช่น 
  • วันที่แลธวันในสัปดาห์ ที่มีให้เลือกหลายรูปแบบ เช่น วันจันทร์ที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ หรือวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๑ หรือ ๐๔/๐๕/๒๕๔๑ ๑๐.๒๑ น. เป็นต้น
  • ข้อความที่มักใช้บ่อยๆ ได้แก่ คำขึ้นต้น และคำลงท้ายของจดหมาย เช่น เรียนคุณพ่อ และคุณแม่ ที่เคารพ หรือ เรียนท่านสุภาพบุรุษ และสุภาพสตรี หรือขอแสดงความนับถืออย่างสูง หรือด้วยความเคารพอย่างสูง เป็นต้น
  • สัญลักษณ์พิเศษ ที่นอกเหนือจากตัวอักษรบนแป้นพิมพ์ เช่น สมการทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
๗. การรวมภาพกราฟิก 
โปรแกรมประมวลผลคำในปัจจุบันได้เพิ่มความสามารถในการใส่รูปภาพกราฟิกต่างๆ เข้าไปในเอกสารในตำแหน่งที่ต้องการได้ เช่น การแทรกรูปภาพลงในย่อหน้า หรือแทรกรูปภาพให้เสมือนรูปภาพถูกล้อมรอบด้วยข้อความ ซึ่งมักจะพบเห็นกันทั่วไปในหน้าสิ่งพิมพ์ต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ บางโปรแกรมได้จัดเตรียมคลังรูปภาพให้ด้วย ผู้ใช้สามารถเรียกใช้รูปภาพเหล่านั้นได้ทันที หรือสร้างคลังรูปภาพเก็บไว้ได้เอง 
การแทรกรูปภาพลงในเอกสารจะมีการแบ่งกันพื้นที่ไว้ให้ ดังนั้น ข้อความที่เป็นตัวอักษร จะเข้าไปทับ ในบริเวณกราฟิกไม่ได้ เราจะมองเห็นภาพกราฟิกปรากฏบนจอภาพโดยตรง และสามารถสั่งให้แสดงผลออกมาทางเครื่องพิมพ์ได้



งานเรียบเรียงเอกสาร คือ การใส่องค์ประกอบเพิ่มเติมให้แก่เอกสารที่พิมพ์เพิ่มขึ้น เพื่อให้เอกสารนั้นมีความเป็นระเบียบ และมีรูปเล่มแบบหนังสือ หรือวารสารต่างๆ เพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเอกสารนั้นๆ ได้สะดวก องค์ประกอบดังกล่าว ได้แก่ หน้าสารบัญ หน้าเอกสารอ้างอิง หมายเลขกำกับเลขหน้าเอกสาร ข้อความหัวกระดาษและท้ายกระดาษ เป็นต้น 
ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้หากต้องทำด้วยมือทั้งหมด คงไม่สะดวกนัก เนื่องจากมีโอกาสที่จะผิดพลาดได้มาก และเป็นการสิ้นเปลืองเวลา โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ จึงได้รับการปรับปรุงเพิ่มเติมให้มีเครื่องมือเหล่านี้ขึ้น 
๑. การทำเค้าโครงของเอกสาร หรือการสร้างรายงานของข้อความ 
การเรียบเรียงรายงาน หรือเอกสารวิชาการต่างๆ จะต้องมีการเตรียมหัวข้อไว้ก่อน แล้วจึงจะทำการแทรกข้อความเพิ่มเติมลงไป โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องมือช่วยย่อหน้า เป็นหมวดหมู่ได้อย่างสวยงาม และหากต้องการพิมพ์ข้อความเป็นรายการ ก็สามารถเลือกทำได้หลายรูปแบบ เช่น ใส่หมายเลขเรียงลำดับกำกับหน้ารายการ หรือใส่จุดวงกลมทึบ หรือรูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ ที่นิยมเรียกกันว่า 
"บุลเล็ต"(Bullet) กำกับข้างหน้าแต่ละรายการ ดังนั้น เมื่อเพิ่มรายการใหม่ลงไป โปรแกรมก็จะสร้างรายการต่อไปให้ใหม่อย่างอัตโนมัติ ตามรูปแบบที่เลือกไว้ 

๒. การสร้างสารบัญและดัชนีท้ายเล่ม 

การทำสารบัญ และดัชนีท้ายเล่มของหนังสือ หรือบทเรียนเป็นงานที่ยุ่งยาก และต้องใช้เวลามาก แต่โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องมือ ที่ช่วยให้เราสามารถสร้างหน้าสารบัญ และดัชนีท้ายเล่มได้อย่างรวดเร็ว 

การสร้างสารบัญทำโดยการดึงหัวข้อต่างๆ ในหน้าเอกสารมาสร้างเป็นสารบัญ และดึงหมายเลขหน้าเอกสารที่หัวข้อเหล่านั้นปรากฏมากำกับรวมในสารบัญเลย 

การสร้างดัชนีท้ายเล่มก็เช่นเดียวกัน คือ คณะพิมพ์ข้อความ ผู้ใช้สามารถกำหนดคำสำคัญที่ต้องการนำมาสร้างดัชนีเอาไว้ และคำเหล่านั้น จะถูกเรียบเรียงเป็นดัชนีท้ายเล่มอย่างอัตโนมัติ พร้อมทั้งมีหมายเลขหน้าเอกสารของคำเหล่านั้น มาแสดงไว้ด้วย 

๓. การเรียงหมายเลขเชิงอรรถ เอกสารอ้างอิง 

โปรแกรมรุ่นใหม่ๆ จะมีเครื่องมือช่วยในการเรียงลำดับหมายเลขเชิงอรรถ (footnotes) เอกสารอ้างอิง (references) รูปที่ (figures) หรือตารางที่ (tables) ให้อย่างอัตโนมัติ เมื่อมีการแทรกหรือแก้ไขเพิ่มเติม โปรแกรมก็จะเรียงลำดับให้ใหม่อย่างรวดเร็ว
 ทันสมัยในยุคอินเทอร์เน็ต 
ในยุคอินเทอร์เน็ต ใครๆ ก็สามารถสร้างหน้าเอกสารส่วนตัวบนเว็บได้ และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคุ้นเคยกับการสร้างเอกสารด้วยโปรแกรมประมวลผลคำอยู่แล้ว ดังนั้น โปรแกรมประมวลผลคำรุ่นใหม่ๆ จะทำหน้าที่แปลงแฟ้มข้อมูลเอกสารที่พิมพ์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เป็นเอกสารเว็บได้อย่างง่ายดาย โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับคำสั่งต่างๆ ของภาษา HTML (HyperText Markup Language) ที่ใช้ในการสร้างเอกสารเว็บเลย เพียงแต่ปรับแต่งเอกสารเล็กน้อยเท่านั้น 
แต่อย่างไรก็ตาม โปรแกรมประมวลผลคำที่มีความสามารถในการสร้างเอกสารเว็บนั้น จะเพิ่มเติมเครื่องมืออีกหลายอย่าง เช่น รูปแบบของหน้าเอกสารเว็บ การใส่บุลเล็ต การทำเส้นแบ่งหน้าในแนวนอน การทำรายการที่มีหมายเลขขึ้นต้น การแทรกรูปภาพ หรือการเชื่อมโยงเอกสาร เป็นต้น เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถสร้างเอกสารเว็บได้อย่างครบถ้วน และรวดเร็ว

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=25&chap=1&page=t25-1-infodetail01.html

บทที่ 5 การใชโปรแกรมตารางงาน

เรื่อง การใช้งานโปรแกรมตารางงาน (Microsoft Excel)แกรม Microsoft Excel เพื่อทำการสร้างเวิร์กชีตต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งานนั้น เรามีความจำเป็นต้องรู้ถึงวิธีการเรียกใช้งานโปรแกรม ส่วนประกอบของหน้าจอโปรแกรม การทำงานกับเวิร์กบุ๊ก และเวิร์กชีต การใช้งานเมนูและแถบเครื่องมือ ตลอดจนการออกจาก โปรแกรม Microsoft Excel อย่างถูกวิธี ทำให้ผู้ใช้งาน สามารถใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. รู้จักกับ Microsoft Excel

โปรแกรม Excel เป็นโปรแกรมประเภทสเปรตชีท (speadsheet) หรือโปรแกรมตารางงานซึ่งใช้เก็บข้อมูลต่าง ๆ การสร้างสูตรคำนวณ ลงบนแผ่นตารางงานคล้ายกับการเขียนข้อมูลลงไปในสมุดที่มีการตีช่อง ตารางทั้งแนวนอนและแนวตั้ง ตารางแต่ละช่องจะมีชื่อกำกับไว้ในแนวตั้งหรือสดมน์ของตารางเป็นตัวอักษรภาษ อังกฤษเริมจาก A,B,C,...เรื่อยไปจนสุดขอบตารางทางขวา มีทั้งหมด 256 สดมภ์(Column) แนวนอนมีหมายเลขกำกับเป็นบรรทัดที่ 1,2,3,...เรื่อยไปจนถึงบรรทัดสุดท้ายจำนวนบรรทัดจะต่างกันในแต่ละโปรแกรมใน ที่นี้เท่ากับ 65,536 แถว(Row) ช่องที่แนวตั้งและแนวนอนตัดกันเรียกว่า เซลล์ (Cell) ใช้บรรจุข้อมูล ข้อความ หรือสูตรคำนวณ โปรแกรมประเภทสเปรตชีตมีผู้พัฒนาขึ้นมาหลายโปรแกรม เช่น ซุปเปอร์แคล (SuperCalc) วิสิแคล(VisiCalc) โลตัส 1-2-3 (Lotus 1-2-3) ออราคิล Oracle) และไมโครซอฟท์เอ็กเซล(Microsoft Excel) ซึ่งเรียกว่า เอ็กเซล
1.1 คุณสมบัติของโปรแกรม Excel

โปรแกรม Excel มีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
1.1.1 สร้างและแสดงรายงานของข้อมูล ตัวอักษร และตัวเลข โดยมีความสามารถในการ จัดรูปแบบให้สวยงามน่าอ่าน เช่น การกำหนดสีพื้น การใส่แรเงา การกำหนดลักษณะและสีของ เส้นตาราง การจัดวางตำแหน่งของตัวอักษร การกำหนดรูปแบบและสีตัวอักษร เป็นต้น
1.1.2 อำนวยความสะดวกในด้านการคำนวณต่าง ๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หารตัวเลข และ

ยังมีฟังก์ชั่นที่ใช้ในการคำนวณอีกมากมาย เข่น การหาผลรวมของตัวเลขจำนวนมาก การหา ค่าทางสถิติและการเงิน การหาผลลัพธ์ของโจทย์ทางคณิตศาสตร์ เป็นต้น
1.1.3 สร้างแผนภูมิ (Chart) ในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการแสดงและการเปรียบเทียบ
ข้อมูลได้หลายรูปแบบ เช่น แผนภูมิคอลัมน์ (Column Chart หรือBar Chart) แผนภูมิเส้น (Line Chart) แผนภูมิวงกลม (Pie Chart) ฯลฯ
1.1.4 มีระบบขอความช่วยเหลือ (Help) ที่จะคอยช่วยให้คำแนะนำ ช่วยให้ผู้ใช้สามารถ

ทำงานได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เช่น หากเกิดปัญหาเกี่ยวกับการใช้งานโปรแกรม หรือสงสัย เกี่ยวกับวิธีการใช้งาน แทนที่จะต้องเปิดหาในหนังสือคู่มือการใช้งานของโปรแกรม ก็สามารถขอ ความช่วยเหลือจากโปรแกรมได้ทันที
1.1.5 มีความสามารถในการค้นหาและแทนที่ข้อมูล โดยโปรแกรมจะต้องมี ความสามารถใน

การค้นหาและแทนที่ข้อมูล เพื่อทำการแก้ไขหรือทำการแทนที่ข้อมูลได้สะดวก และรวดเร็ว
1.2 ประเภทข้อมูล

ข้อมูลที่ใช้งานสำหรับการพิมพ์กับโปรแกรม Microsoft Excel มี 4 ประเภท คือ
1.2.1 ข้อมูลประเภทตัวอักษร (Text)

เป็นข้อมูลที่มีการแสดงผลอยู่ในรูปของตัวอักษร เช่น ชื่อ, นามสกุล, ที่อยู่ หรือตัวเลขท
1.2.3 ข้อมูลประเภทวันที่ (Date)
เป็นข้อมูลที่ลักษณะเป็นวันที่ โดยปกติจะแสดงผลในรูปแบบวันที่สากล คือ ปีคริสต์ศักราชเสมอ ดังนั้นการใส่ข้อมูลประเภทนี้ให้เป็นปีพุทธศักราช จำเป็นต้องใส่รูปแบบของปีอย่างสมบูรณ์ ดังตัวอย่าง 03/04/2519 จะหมายถึง วันที่ 3 เดือน เมษายน ปี 2519 หากใส่ข้อมูล 03/04/19 จะหมายถึง วันที่ 3 เดือน เมษายน ปี 1919 แทน
1.2.4 ข้อมูลประเภทเวลา (Time)

เป็นข้อมูลที่ลักษณะเป็นเวลา โดยปกติจะแสดงผลในรูปแบบของ ชั่วโมง : คั่นด้วยเครื่องหมาย : (Colon) ตามด้วยนาที คั่นด้วยเครื่องหมาย : และวินาทีตามลำดับ แต่หากเมื่อดูที่แถบสูตรจะเห็นเป็นเวลาในรูปแบบที่แสดง AM และ PM
2. การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel
การเข้าสู่โปรแกรม Microsoft Excel 2007 มีขั้นตอนดังนี้
2.1 คลิกเลือกปุ่ม Start

2.2 เลือกรายการ Program
2.3 เลือก Microsoft Office
2.4 เลือก Microsoft Office Excel 2007

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel
เมื่อโปรแกรม Microsoft Excel 2007 ถูกเปิดขึ้นมาแล้ว จะใช้ชื่อไฟล์ว่า สมุดงาน1 เสมอ แต่ถ้าเปิดแฟ้มใหม่ต่อไปอีกก็จะใช้ชื่อเป็นสมุดงาน 2 สมุดงาน 3 ต่อไปเรื่อย ๆโดยมีส่วนประกอบของ โปรแกรม Microsoft Excel 2007 ดังนี้คือ
ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 

ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 2007 มีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
3.1 แถบชื่อเรื่อง (Title bar)
เป็นส่วนที่แสดงชื่อของโปรแกรม และชื่อไฟล์สมุดงานที่เราเรียกใช้
3.2 ปุ่ม Office
เป็นปุ่มรายการที่รวบรวมคำสั่งหลัก ใช้แทนที่เมนูแฟ้มในรุ่น ๆ ก่อน ซึ่งมีเมนู 9 รายการ รายการเอกสารล่าสุด ปุ่มตัวเลือกของ Excel และปุ่มออกจาก Excel
3.3 แถบเครื่องมือด่วน (Tool bar)
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งที่ใช้บ่อย ๆ อยู่ด้านบนซ้ายของหน้าต่าง (อาจสั่งให้อยู่ใต้ Ribbon ก็ได้) ที่แสดงในรูปของปุ่มรูปภาพ หรือไอคอน โดยปกติจะมีปุ่มบันทึก เลิกทำ ทำซํ้า ฯลฯ ซึ่ง สามารถเพิ่มปุ่มคำสั่งที่ให้มาในรายการของแถบเครื่องมือ แล้วคลิกถูกเลือกรายการที่ต้องการหรือ คลิกขวาที่ปุ่มที่ใช้งานในแท็บต่าง ๆ บน Ribbon แล้วเลือกเพิ่มลงในแถบเครื่องมือด่วน นอกจากนี้ ยังสามารถเพิ่มปุ่มเครื่องมือด่วน ได้โดยใช้คำสั่งเพิ่มเติม หรือใช้รายการกำหนดแถบเครื่องมือด่วน เองในกล่องโต้ตอบตัวเลือกของ Excel ที่ปุ่ม Office
3.4 แถบเครื่องมือ Ribbon
เป็นส่วนที่แสดงคำสั่งต่าง ๆ แบ่งออกเป็นแท็บ ๆ แท็บ ในแต่ละแท็บจะมีกลุ่มชื่อ/ ชุดคำสั่งอยู่ด้านล่าง และมีปุ่มคำสั่งไว้ใช้งานแทนเมนูแบบเก่า ๆ โดยบางแท็บจะมีปุ่มน้อย ๆ หรือ จุดมุมด้านล่างขวามือไว้สำหรับเรียกกล่องโต้ตอบออกมาใช้งานได้ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้หาก ไม่ใช้งานสามารถย่อ Ribbon ได้อีกด้วย
3.5 แถบสูตร
เป็นแถบเครื่องมือที่มีพื้นที่ใช้งานอยู่ 3 ส่วน คือด้านซ้ายเป็นที่ใช้ในการแสดงตำแหน่ง เซลล์หรืออ้างอิงเซลล์ ทั้งนี้เมื่อพิมพ์เครื่องหมาย = หรือคลิกปุ่มเครื่องหมาย fx ที่ตำแหน่งเซลล์ หรืออ้างอิงเซลล์นี้ จะเปลี่ยนเป็นชื่อสูตรหรือฟังก์ชันและการใช้สูตรที่ใช้ในเร็ว ๆ นี้ ถัดไปเป็นปุ่ม เครื่องหมายกากบาทใช้ยกเลิก ปุ่มเครื่องหมายถูกใช้ป้อนค่า และปุ่มเครื่องหมาย fx ใช้แทรกฟังก์ชัน ช่องพื้นที่ด้านขวาสุดเป็นที่ที่แสดงข้อความ ตัวเลข และสูตรที่อยู่เบื้องหลังตัวเลข
3.6 แถบสถานะ (Status bar)
เป็นแถบด้านล่างสุดของหน้าต่าง ซึ่งแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนซ้ายเป็นส่วนที่ แสดงการใช้งานขณะนั้น เช่น การคัดลอก และการพิมพ์งานออกทางเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และส่วนขวาแสดงมุมมอง 3.7 แผ่นงานหรือชีท (Sheet)
เป็นพื้นที่ทำงานของสมุดงาน ในแต่ละสมุดงานจะมีกี่แผ่นงานก็ได้ โดยโปรแกรมได้ให้มา 3 แผ่นงานก่อน ซึ่งสามารถเพิ่มได้โดยใช้เมนูลัดที่แผ่นงานเลือกแทรก...แผ่นงาน หรือคลิก แผ่นงานท้าย (ปุ่มแทรกแผ่นงาน) หรือกดแป้น Shift + F11 ซึ่งในแผ่นงานหนึ่ง ๆ จะมีลักษณะเป็น ตาราง ประกอบไปด้วย แถว (Row) กับ คอลัมน์ (Column)
4. การจัดการกับเวิร์กบุ๊ค (Workbook)
เมื่อเปิดโปรแกรม Excel ขึ้นมาใช้งานครั้งแรกนั้น จะเห็นได้ว่ามีสมุดงานขึ้นมาใช้งาน 1 ไฟล์ และในแต่ละสมุดงานนั้น ก็จะมีแผ่นงานให้ใช้งานได้ถึง 3 แผ่น แต่นอกจากสมุดงานที่โปรแกรมกำหนดให้มานั้น หากเราต้องการสร้างสมุดงานใหม่มาใช้ ก็สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
4.1 วิธีที่ 1 การสร้างสมุดงาน (Workbook) โดยใช้ปุ่ม Office
4.1.1 คลิกปุ่มออฟฟิศ (Office)

4.1.2 คลิกเมาส์เมนู> สร้าง (New)

4.1.3 คลิกเลือก สมุดงานเปล่า (Blank Workbook)

4.2 วิธีที่ 2 การสร้างสมุดงาน (Workbook) จาก Template
เป็นการสร้าง Workbook ขึ้นมาใช้งานจากรูปแบบ Workbook ที่มีอยู่ในโปรแกรม ซึ่ง Workbook ใหม่ที่สร้างขึ้นมาก็จะมีลักษณะเหมือนต้นแบบที่ได้เลือกไว้ทุกประการ ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังน
4.2.1 คลิกปุ่มออฟฟิศ (Office)                                                                         

4.2.2 คลิกเมาส์เมนู> สร้าง (New)

4.2.3 คลิกเลือก รูปแบบแม่แบบ เช่น ใบแจ้งหนี้
4.2.4 คลิกเลือกรูปแบบที่ต้องการ

4.2.5 คลิกปุ่ม ดาวน์โหลด

4.2.6 สมุดงานจะถูกสร้างขึ้นมาจากแม่แบบตามที่เลือก




https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&sqi=2&ved=0ahUKEwjc0vL2yPTOAhWJNY8KHS2cDc8QFgghMAE&url=http%3A%2F%2Fwww.yvc.ac.th%2Fdungjai%2Funit6-1ang.pdf&usg=AFQjCNHfWHCOLKCRNFLj3WmF3Hl-q8rFUA&sig2=Z1IbUFwKi9kNQrxirAwOKA&bvm=bv.131783435,d.c2I