วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

บททที่ 6 การประยุกต์โปรแกรมตารางงาน

ความสำคัญของ โปรแกรม Microsoft Excel               

ปัจจุบันนี้มี Software ที่สามารถช่วยเหลือมนุษย์ และแบ่งเบาภาระหน้าที่ของมนุษย์ช่วยให้คนสามารถ คำนวณ คิดเลข ได้ออกมาเพียงแค่คลิกครั้งเดียว หรือไม่ก็มี codeแค่ท่อนเดียวในตาราง Excel ก็สามารถคิดผลลัพธ์ออกมาให้เองได้ทั้งหมดแล้ว ดังเช่นExcel เมื่อพูดถึง Excel ลองมองภาพรวมมันกว้างเกินไป เพราะว่า Excel มีหลายรุ่น และแต่ละรุ่น ก็มีความสามารถในการทำงานที่แตกต่างกันออกไป มีการ up version มาหลายอย่าง แต่ที่นิยมในตอนนี้ก็คงจะเป็น Microsoft Excel XPเพราะว่าไม่เก่าเกินไป และไม่ใหม่เกินไป  ซึ่งจากเดิมใช้ Excel 97 แต่ version ที่ใหม่ที่สุด เห็นจะเป็น Microsoft Excel 2007 ซึ่งยังได้รับความนิยมน้อยอยู่ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ยังใหม่

จะว่าไปแล้ว Excel ก็มีความสำคัญทางด้านบัญชี ไม่มาก ก็น้อย ซึ่งในอนาคต นักบัญชีอาจจะไม่มีความสำคัญหรือไม่จำเป็นสำหรับธุรกิจที่เจริญก้าวหน้า อย่างไม่หยุดยั้งบนเทคโนโลยีที่ทันสมัยขึ้น และ Software ที่มีประสิทธิภาพที่สามารถ คิด คำนวณได้ไวและแม่นยำกว่ามนุษย์ และความผิดพลาดที่เกิดขึ้นอาจจะเกือบจะเป็น 0 % เลยก็ว่าได้ เมื่อนักบัญชีได้มาอ่านบทความนี้ก็อาจจะค้านอยู่ในใจ หรือคิดว่า บทความนี้พูดแรงเกินไป ก็เพราะผมพูดถึง Excel ซึ่งต้องยอมรับว่า บางสาขา บางอาชีพ อาจไม่จำเป็นในอนาคต ซึ่งเพียงแต่มีความรู้ด้านระบบ หรือ Software ที่ท่านใช้ ก็สามารถนำระบบเหล่านี้ไปใช้ในธุรกิจของท่านได้ ไม่ว่าจะเล็กหรือจะใหญ่โตสักแค่ไหนก็ตาม

ในทุกวันนี้คงเป็นที่ยอมรับกันเป็นอย่างดีแล้วว่า คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเราอย่างมากมาย และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในยุคนี้สำนักงานทั่วๆไปจึงมีเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้ใช้งานเป็นส่วนใหญ่ และมักจะติดตั้งโปรแกรมวินโดวส์ ซึ่งเป็นโปรแกรมปฏิบัติการแบบมัลติทาสกิ้ง คือ สามารถทำงานได้หลายๆงานพร้อมกันพร้อมกับโปรแกรม Microsoft Office 2000/XP/2003 ซึ่งพัฒนามาจาก Microsoft Office 97 เป็นโปรแกรมช่วยงานในสำนักงานที่มีความสามารถสูงขึ้น และExcel 2000 ก็เป็นหนึ่งในโปรแกรม Microsoft Office 2000/XP/2003 ที่สามารถแบ่งเบาภาระในเรื่องของการคำนวณ เมื่อคุณกำลังเสียเวลาและต้องการผู้ช่วย เพื่อช่วยในเรื่องการเขียนรายงานทางการเงิน วาดกราฟ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล หรือเมื่อคุณกดเครื่องคิดเลขจนรู้สึกเบื่อหน่ายแล้ว ผมเชื่อว่าโปรแกรมไมโครซอฟท์เอ็กเซล 2000 จะสามารถช่วยลดขั้นตอนเหล่านั้นได้อย่างแน่นอน



หนังสือเรียนวิชา การประยุกต์โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี (Spread Sheet Application for Accounting) รหัส 2201-2103 จำนวน 3 หน่วยกิต 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ได้เรียบเรียงขึ้นเพื่อให้ตรงตามจุดประสงค์รายวิชา สมรรถนะรายวิชา และคำอธิบายรายวิชา ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
พุทธศักราช 2556 ประเภทวิชาพาณิชยกรรม สาขาวิชาการบัญชีของสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

 เนื้อหารายวิชาแบ่งออกเป็น 7 หน่วยการเรียน ได้จัดทำแผนการจักการเรียนมุ่งเน้นฐานสรรถนะ (Competency based) และการบูรณาการ (Integrated) โดยแต่ละหน่วยการเรียนได้ให้ความสำคัญด้านความรู้ ทั้งทฤษฎี วิธีการปฏิบัติ และทักษะการใช้โปรแกรม ตารางงานเพื่องานบัญชีผู้เรีบยเรียงได้ปรับปรุงการเรียนรู้ วิธีการใช้งานให้ง่ายขึ้นโดยมีภาพประกอบการทำงานในแต่ละขั้นตอน เพื่อให้นักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจสามารถเข้าสู่บทเรียนและปฏิบัติตามบทเรียนได้โดยง่าย ในแต่ละหน่วยการเรียนได้สร้างแบบประเมินความรู้ทั้งแบบประเมินอัตนัย และแบบประเมินปรนัย และแบบฝึกทักษะ เพื่อฝึกฝนให้เกิดทักษะทั้งด้านการใช้โปรแกรมตารางงานและด้านการบัญชีผู้เรียบเรียงหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเรียนเล่มนี้จะเป็นประโยชน์แก่ครู อาจารย์ นักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจทุกท่าน ขอขอบคุณเจ้าของตำราทุกท่านที่ผู้เรียบเรียงได้นำมาประกอบในการเรียบเรียงจนสำเร็จไว้ ณ โอกาสนี้
    จุดประสงค์


1.  มีความเข้าใจในการใช้โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี
2.  มีทักษะในการใช้โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี
3. มีกิจนิสัย มีระเบียบ ละเอียดรอบคอบ ซื่อสัตย์ มีวินัยต่อตนเอง และมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี



สมรรถนะรายวิชา
1. แสดงความรู้เกี่ยวกับหลักการใช้โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี
2.ปฏิบัติงานโดยใช้โปรแกรมตารางงานเพื่องานบัญชี

คำอธิบายรายวิชา

             ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเริ่มต้นใช้โปรแกรมตารางงาน  ส่วนประกอบของโปรแกรมตารางงานการป้อนแล้วจัดรูปแบบข้อมูล  การสร้างสูตรและการใช้ฟังก์ชั่นในการคำนวณ  เพื่อสร้างสมุดบันทึกรายการขั้นต้น  การผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภท  การปรับแก้ข้อมูล  การจัดการฐานข้อมูลในตารางงาน  จัดทำรายการทางการเงิน  การออกรายงาน  การวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบข้อความและแผนภูมิ


 http://accountsicc.blogspot.com/p/blog-page.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น